เรื่อง โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว (The Earth, the sun, the moon and stars)
ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์
ศึกษานิเทศก์
หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับโลก
ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กวัย 2–5 ปี ด้วยการปฏิบัติกิจกรรม
ด้วยการลงมือกระทำด้วยตัวเอง จากการเรียนรู้ จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า
เพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
ภาษา เช่น การทดลองเรื่องกลางวันกลางคืน การทดลองเรื่องพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์
ฯลฯ ทั้งนี้ เนื่องจากเด็กเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม ดังนั้น
เด็กจึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่ง แวดล้อมรอบตัว
เพื่อที่จะได้ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เหมาะสม
การสอนเด็กให้เรียนรู้เรื่องโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
ดวงดาวเป็นการสร้างความคิดรวบยอดให้กับเด็กรวมทั้งการพัฒนาพื้นฐานที่จำเป็น
อันเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ให้กับเด็กต่อไป
การสอนเรื่อง
โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว สำคัญอย่างไร?
จะเป็นพื้นฐานไปสู่การเรียนการสอนระดับประถมศึกษา แต่ในระดับปฐมวัย
การเรียนรู้เรื่องดังกล่าวนี้ จะอยู่ในสาระที่เด็กควรเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว
โดยมุ่งให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
ดวงดาวที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น
ดวงอาทิตย์จะปรากฏขึ้นจากขอบฟ้าในตอนเช้าของทุกวัน
ตอนกลางวันคนส่วนมากจะตื่นนอนและทำงาน ส่วนเด็กจะไปโรงเรียน เล่นและทำงานร่วมกับเพื่อนที่โรงเรียน
ตอนกลางวันจะรับประทานอาหาร ตอนบ่ายหรือตอนเย็นเลิกเรียนและกลับบ้าน อาบน้ำ
รับประทานอาหาร ทำการบ้านที่ครูสั่ง ตอนกลางคืนจะมืด
มีดวงจันทร์ลอยอยู่บนท้องฟ้าแทนดวงอาทิตย์ อากาศตอนกลางคืนไม่ค่อยร้อน
และทุกคนจะนอนหลับในเวลากลางคืนการเรียนรู้ในสาระดังกล่าวสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นจะเน้นที่ความสอด
คล้องกับชีวิตประจำวันและบริบทของเด็ก เพราะเด็กยังไม่เข้าใจหลักการ
เหตุผลหรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับระบบสุริยจักรวาลได้เหมือนผู้ใหญ่
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เด็กได้ค้นหาความรู้ ความจริงที่ปรากฏ
และสามารถพิสูจน์ได้
จากการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ เช่น
ทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การทดลอง การสื่อความหมายอธิบายความเหมือน
ความต่างของสิ่งต่างๆ การจับคู่ จำแนก จัดกลุ่ม การเปรียบเทียบ
การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ การเปรียบเทียบเวลา ตอนเช้า ตอนเย็น เมื่อวาน วันนี้
ซึ่งในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ได้รับประสบการณ์สำคัญครูปฐมวัยจึงบูรณาการทั้งกิจกรรมและบูรณาการทักษะอย่างสมดุลกัน
ด้วยการจัดประสบการณ์แบบหัวเรื่องหรือหน่วยให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
การสอนเรื่อง
โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
·
ทำให้เด็กปฐมวัยมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ตามระดับความสามารถของเด็ก
เช่น เด็กรู้ว่าโลกกลม เด็กเดิน วิ่ง เล่น
และทำกิจกรรมต่างๆบนพื้นดินหรือพื้นผิวของโลก
บนโลกจะมีสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆอาศัยอยู่ร่วมกัน ดวงอาทิตย์จะปรากฏให้เห็นตอนกลางวันคืนจะมืดและจะมองเห็นดวงจันทร์และดวงดาวต่างๆในเวลากลางคืน
ทุกคนจะนอนหลับในตอนกลางคืน เด็กควรระมัด ระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในเวลากลางคืน
1 ช่วยให้เด็กรับรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆที่อาศัยร่วมกันบนโลก
2 ช่วยให้เด็กรู้ว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม
เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งต่างๆที่อยู่ในโลก
และควรมีความรับผิดชอบต่อโลกและสิ่งแวดล้อมตามระดับวุฒิภาวะที่สามารถทำได้ เช่น
ไม่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำ ใช้น้ำและไฟอย่างประหยัด
3
ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้เรื่องโลก
ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ซึ่งเป็นเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์
การเรียนรู้ในเรื่องนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กจะต้องมีการสืบค้นข้อมูลความรู้
มีการพิสูจน์ทดลองต่างๆ ตลอดจนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงในชีวิตประจำวัน
เด็กต้องใช้ทักษะการสังเกต เช่น การสังเกตลักษณะของกลางวัน
สังเกตการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
ครูสอนเรื่อง
โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร?
·
1 จัดประสบการณ์แบบหน่วยการเรียนรู้
โดยการใช้สาระการเรียนรู้เรื่องโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวเป็นชื่อหน่วยครูอาจกำหนดเรื่องย่อยที่จะเรียนในแต่ละวัน
เช่น ลักษณะของดวงอาทิตย์ ประโยชน์ของดวงอาทิตย์ พลังงานจากดวงอาทิตย์
2 การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเนื้อหา หมายถึง
การกำหนดการเรียนรู้แบบหน่วย แต่จะบูรณาการเนื้อหาอื่นๆเข้ามาไว้ด้วยกัน
ให้มีความสัมพันธ์กัน เช่น เรียนหน่วยดวงอาทิตย์ แต่จะ
·
3บูรณาการเรื่องดวงจันทร์
ดวงดาว และโลกให้เด็กได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน
จัดประสบการณ์โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชนและท้องถิ่นโดยให้เด็กศึกษานอกสถานที่
เช่น การเรียนรู้เรื่องระบบสุริยะจักรวาลจากการพาเด็กไปทัศนศึกษาที่ท้องฟ้าจำลอง
พ่อแม่
ผู้ปกครองจะสอนลูกเรื่อง โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวอย่างไร?
กิจกรรมการสอนของพ่อแม่ควรเป็นการสอนในสถานการณ์จริง เช่น
พ่อแม่ถามลูกว่า ลูกรู้สึกอย่างไรเมื่อเดินในที่โล่งแจ้งโดยไม่กางร่ม
ทำไมลูกเหงื่อออกเมื่อเดินตามชายหาดในเวลากลางวัน ทำไมลูกโป่งลอย
แต่ตัวเราไม่ลอยเหมือนลูกโป่ง
บางครั้งพ่อแม่อาจจะพาลูกไปเที่ยวในช่วงกลางคืนแล้วเห็นดวงจันทร์
ดวงดาวปรากฏบนท้อง ฟ้า ก็อาจจะซักถามลูกและกระตุ้นให้ลูกคิดเช่น
ถามลูกว่าทำไมดวงจันทร์มีขนาดใหญ่กว่าดวงดาวพ่อแม่ไม่ควรคาดหวังว่าเด็กจะตอบได้หรือเข้าใจเหมือนกับผู้ใหญ่
แต่มุ่งให้เด็กได้พัฒนาทักษะกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ขั้นพื้น ฐาน
และพ่อแม่ควรเรียนรู้ควบคู่ไปกับลูก
เนื่องจากบางครั้งพ่อแม่ขาดข้อมูลที่จะนำมาอธิบายเหตุผลให้กับลูก
ก็ต้องสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กด้วย
พ่อแม่ควรใช้โอกาสต่างๆ สอนลูก
โดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงและสอนในสิ่งที่เป็นรูปธรรมให้มากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น