วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

บทความ




    เรื่อง โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว (The Earth, the sun, the moon and stars)
    ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์
หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กวัย 2–5 ปี ด้วยการปฏิบัติกิจกรรม ด้วยการลงมือกระทำด้วยตัวเอง จากการเรียนรู้ จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา เช่น การทดลองเรื่องกลางวันกลางคืน การทดลองเรื่องพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ฯลฯ ทั้งนี้ เนื่องจากเด็กเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เด็กจึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่ง แวดล้อมรอบตัว เพื่อที่จะได้ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เหมาะสม การสอนเด็กให้เรียนรู้เรื่องโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวเป็นการสร้างความคิดรวบยอดให้กับเด็กรวมทั้งการพัฒนาพื้นฐานที่จำเป็น อันเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ให้กับเด็กต่อไป

การสอนเรื่อง โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว สำคัญอย่างไร?

จะเป็นพื้นฐานไปสู่การเรียนการสอนระดับประถมศึกษา แต่ในระดับปฐมวัย การเรียนรู้เรื่องดังกล่าวนี้ จะอยู่ในสาระที่เด็กควรเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว โดยมุ่งให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น ดวงอาทิตย์จะปรากฏขึ้นจากขอบฟ้าในตอนเช้าของทุกวัน ตอนกลางวันคนส่วนมากจะตื่นนอนและทำงาน ส่วนเด็กจะไปโรงเรียน เล่นและทำงานร่วมกับเพื่อนที่โรงเรียน ตอนกลางวันจะรับประทานอาหาร ตอนบ่ายหรือตอนเย็นเลิกเรียนและกลับบ้าน อาบน้ำ รับประทานอาหาร ทำการบ้านที่ครูสั่ง ตอนกลางคืนจะมืด มีดวงจันทร์ลอยอยู่บนท้องฟ้าแทนดวงอาทิตย์ อากาศตอนกลางคืนไม่ค่อยร้อน และทุกคนจะนอนหลับในเวลากลางคืนการเรียนรู้ในสาระดังกล่าวสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นจะเน้นที่ความสอด คล้องกับชีวิตประจำวันและบริบทของเด็ก เพราะเด็กยังไม่เข้าใจหลักการ เหตุผลหรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับระบบสุริยจักรวาลได้เหมือนผู้ใหญ่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เด็กได้ค้นหาความรู้ ความจริงที่ปรากฏ และสามารถพิสูจน์ได้ จากการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ เช่น ทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การทดลอง การสื่อความหมายอธิบายความเหมือน ความต่างของสิ่งต่างๆ การจับคู่ จำแนก จัดกลุ่ม การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ การเปรียบเทียบเวลา ตอนเช้า ตอนเย็น เมื่อวาน วันนี้ ซึ่งในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ได้รับประสบการณ์สำคัญครูปฐมวัยจึงบูรณาการทั้งกิจกรรมและบูรณาการทักษะอย่างสมดุลกัน ด้วยการจัดประสบการณ์แบบหัวเรื่องหรือหน่วยให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

การสอนเรื่อง โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?

·         ทำให้เด็กปฐมวัยมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ตามระดับความสามารถของเด็ก เช่น เด็กรู้ว่าโลกกลม เด็กเดิน วิ่ง เล่น และทำกิจกรรมต่างๆบนพื้นดินหรือพื้นผิวของโลก บนโลกจะมีสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆอาศัยอยู่ร่วมกัน ดวงอาทิตย์จะปรากฏให้เห็นตอนกลางวันคืนจะมืดและจะมองเห็นดวงจันทร์และดวงดาวต่างๆในเวลากลางคืน ทุกคนจะนอนหลับในตอนกลางคืน เด็กควรระมัด ระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในเวลากลางคืน

1 ช่วยให้เด็กรับรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆที่อาศัยร่วมกันบนโลก

2 ช่วยให้เด็กรู้ว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งต่างๆที่อยู่ในโลก และควรมีความรับผิดชอบต่อโลกและสิ่งแวดล้อมตามระดับวุฒิภาวะที่สามารถทำได้ เช่น ไม่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำ ใช้น้ำและไฟอย่างประหยัด
3 ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้เรื่องโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ซึ่งเป็นเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้ในเรื่องนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กจะต้องมีการสืบค้นข้อมูลความรู้ มีการพิสูจน์ทดลองต่างๆ ตลอดจนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงในชีวิตประจำวัน เด็กต้องใช้ทักษะการสังเกต เช่น การสังเกตลักษณะของกลางวัน สังเกตการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
ครูสอนเรื่อง โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร?

·         1 จัดประสบการณ์แบบหน่วยการเรียนรู้ โดยการใช้สาระการเรียนรู้เรื่องโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวเป็นชื่อหน่วยครูอาจกำหนดเรื่องย่อยที่จะเรียนในแต่ละวัน เช่น ลักษณะของดวงอาทิตย์ ประโยชน์ของดวงอาทิตย์ พลังงานจากดวงอาทิตย์
2 การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเนื้อหา หมายถึง การกำหนดการเรียนรู้แบบหน่วย แต่จะบูรณาการเนื้อหาอื่นๆเข้ามาไว้ด้วยกัน ให้มีความสัมพันธ์กัน เช่น เรียนหน่วยดวงอาทิตย์ แต่จะ

·         3บูรณาการเรื่องดวงจันทร์ ดวงดาว และโลกให้เด็กได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน

จัดประสบการณ์โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชนและท้องถิ่นโดยให้เด็กศึกษานอกสถานที่ เช่น การเรียนรู้เรื่องระบบสุริยะจักรวาลจากการพาเด็กไปทัศนศึกษาที่ท้องฟ้าจำลอง
พ่อแม่ ผู้ปกครองจะสอนลูกเรื่อง โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวอย่างไร?


กิจกรรมการสอนของพ่อแม่ควรเป็นการสอนในสถานการณ์จริง เช่น พ่อแม่ถามลูกว่า ลูกรู้สึกอย่างไรเมื่อเดินในที่โล่งแจ้งโดยไม่กางร่ม ทำไมลูกเหงื่อออกเมื่อเดินตามชายหาดในเวลากลางวัน ทำไมลูกโป่งลอย แต่ตัวเราไม่ลอยเหมือนลูกโป่ง บางครั้งพ่อแม่อาจจะพาลูกไปเที่ยวในช่วงกลางคืนแล้วเห็นดวงจันทร์ ดวงดาวปรากฏบนท้อง ฟ้า ก็อาจจะซักถามลูกและกระตุ้นให้ลูกคิดเช่น ถามลูกว่าทำไมดวงจันทร์มีขนาดใหญ่กว่าดวงดาวพ่อแม่ไม่ควรคาดหวังว่าเด็กจะตอบได้หรือเข้าใจเหมือนกับผู้ใหญ่ แต่มุ่งให้เด็กได้พัฒนาทักษะกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ขั้นพื้น ฐาน และพ่อแม่ควรเรียนรู้ควบคู่ไปกับลูก เนื่องจากบางครั้งพ่อแม่ขาดข้อมูลที่จะนำมาอธิบายเหตุผลให้กับลูก ก็ต้องสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กด้วย พ่อแม่ควรใช้โอกาสต่างๆ สอนลูก โดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงและสอนในสิ่งที่เป็นรูปธรรมให้มากที่สุด

สรุป วีดีโอ เรื่อง ความลับของแสง


  สรุป วีดีโอ เรื่อง ความลับของแสง


        นิทานจะช่วยสอนให้เด็กมีจินตนาการ และจะช่วยฝึกทักษะทางภาษามากกว่า 1 ภาษา เนื่องจาก นิทานบางเรื่องมี 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ และนิทานในรูปแบบใหม่หรือในรูปแบบปัจจุบันมีภาพที่เสมือนจริง ซึ่งจะช่วยให้เป็นสื่อการเรียนรู้ได้ดี

แสง 
แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก มีความเร็วถึง 300000 กิโลเมตร/วินาที แสงจะช่วยให้มองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว ถ้าหากรอบตัวไม่มีแสงก็จะไม่สามารถมองเห็นวัตถุต่างๆได้ 

คุณสมบัติของแสง
     การทดลองที่1
 อุปกรณ์           1.กล่องใบใหญ่มีฝาปิด เจาะรูข้างๆกล่อง
                        2.อุปกรณ์ของต่างๆ เช่น ตุ๊กตา
 วิธีการทดลอง  1. นำกล่องใบใหญ่มีฝาปิด เจาะรูข้างๆกล่อง นำของต่างๆมาใส่กล่อง เช่น ตุ๊กตาจากนั้นปิดฝากล่อง แล้วมองผ่านรูที่เจาะจะไม่สามารถมองเห็น ตุ๊กตาเนื่องจากด้านในกล่องมีความมืดสนิท ค่อยๆเปิดฝากล่อง แล้วเจาะรูเพิ่ม เอาไฟฉายส่องไปในรูที่เจาะใหม่ จะเห็นของในกล่อง
            แสดงว่าเราจะสามารถมองเห็นวัตถุในกล่องได้ เพราะมีแสงส่องโดนวัตถุและแสงสะท้อนกระทบกับวัตถุเข้ามาที่ตาของเรา จึงสามารถมองเห็นวัตถุได้
     การทดลองที่ 2
อุปกรณ์            1.กระดาษสีดำ เจาะรูตรงกลางให้เท่ากัน 2 แผ่น
วิธีการทดลอง   1.เปิดไฟในห้องมืด นำกระดาษแผ่นแรกวางคั่นแสงกับพื้นห้อง จะเห็นเพียงแสงที่ผ่านรูเท่านั้น แล้วลองเอาแผ่นที่ 2 ทับก็จะเห็นเพียงแสงที่ผ่านรูเหมือนกัน
     การทดลองที่ 3
อุปกรณ์          1. กล่องกระดาษเจาะรูข้างกล่อง
                       2
.ภาพต้นแบบ
วิธีการทดลอง 1.ส่องไฟจากภาพต้นแบบให้แสงผ่านรูเล็กๆ ภาพจะปรากฏบนกระดาษไข แล้วลองปรับภาพต้นแบบให้เลื่อนเข้า เลื่อนออก จะทำให้เกิดภาพเล็กภาพใหญ่ แต่จะเห็นเป็นภาพกลับหัวเพราะแสงวิ่งเป็นเส้นตรงตกกระทบด้านล่าง แล้วสะท้อนกลับด้านบนทำให้ภาพเป็นภาพกลับหัว
             จากการทดลองแสดงว่า คุณสมบัติของแสง คือ แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง ไปกระทบกับวัตถุและสะท้อนจากวัตถุเป็นเส้นตรงเหมือนกัน

การสะท้อนของแสง
    การทดลองที่1
อุปกรณ์      1. ไฟฉาย
                  2. กระจกเงา
การทดลอง 1. วางกระจกไว้ที่พื้น ฉายไฟฉายลงบนกระจกเงา แสงจะสะท้อนกลับมาเป็นแนวเส้นตรง เมื่อลองเปลี่ยนทิศทาง คือ หันแสงไปทางอื่นแสงจะสะท้อนไปทางตรงกันข้ามเสมอ เพราะลำแสงที่สะท้อนไปจะเป็นมุมที่เท่ากับมุมสะท้อนกลับ
     การทดลองที่2 เรียกการทดลองนี้ว่า กระจกฮาไรโดสโคป
อุปกรณ์      1. กระจกเงา 3 บาน
                  2. ภาพ
การทดลอง 1. นำกระจกเงา 3 บานมาติดกันให้เป็นสามเหลี่ยม เมื่อส่องภาพเข้าไปจะเกิดภาพมากมายเนื่องจาก การสะท้อนแสงและมุมกระจกจะทำให้เกิดภาพ

การหักเหของแสง คือ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง
เช่น การฉายแสงผ่านน้ำ ถ้าเป็นเส้นตรง แสงก็จะตรง ถ้าฉายแสงเฉียงแสงก็จะเฉียงตาม เนื่องจากน้ำมีความหนาแน่นมาก ทำให้แสงเคลื่อนที่ช้าการหักเหของแสงจะเดินทางจากมวลอากาศมาก ไปสู่มวลอากาศที่น้อย จึงเกิดการหักเห
     การทดลอง  อ่านหนังสือผ่านแก้วที่ใส่น้ำจนเต็ม จะพบว่าการหักเหของแสงจะกระจายออกทำให้ตัวหนังสือที่เห็นใหญ่ขึ้น
การทดลองการหักเหของแสงโดยผ่านการทดลองที่เรียกว่า รุ้งกินน้ำ
     การทดลองที่ 1 นำน้ำใส่อ่างแก้ว ประมาณครึ่งอ่าง นำกระจกเล็กๆจุ่มลงไปเฉียงทำมุมขึ้นมา แล้วจะเห็นการสะท้อนขึ้นมาเป็นสีรุ้งกินน้ำ
    การทดลองที่ 2 หันหลังให้ดวงอาทิตย์ แล้วฉีดน้ำ จากนั้นสังเกตจากละอองน้ำ รุ้งกินน้ำจะเกิดตรงข้ามกับพระอาทิตย์เนื่องมาจากการหักเหของละอองน้ำ
    คุณสมบัติ วัตถุแต่ละชนิดจะดูดคลื่นแสง สะท้อนกับวัตถุทำให้เห็นสีต่างๆ

เงา     เป็นสิ่งที่คู่กับแสง เพราะเงาจะตรงกันข้ามกับแสง
การทดลอง ส่องไฟตรงกับวัตถุจะเกิดเงาดำๆ บนพื้นที่วางวัตถุไว้ เป็นรูปวัตถุนั้นๆถ้าส่องตรงกับวัตถุเงาที่สะท้อนจะเป็น 2 เงา เนื่องจากแสงเดินทางผ่านเป็นเส้นตรงดูดกลืนแสงวัตถุมา เงาจะเกิดทุกครั้งที่มีวตถุมาขวางทางเดินของแสง






บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดี ที่ 18 กันยายน 2557


การนำเสนอบทความ

1. สะเต็มศึกษา  การนำเอา 4  วิชาหลักมาบูรณาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวะกรรม และคณิตศาสตร์ 
2. โลกของเราดำเนินอยู่อย่างไร  เน้นการสร้างประสบการณ์และการเรียนรู้   กระตุ้นการเรียนรู้ และค้นหาคำตอบไปพร้อมๆกัน   กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  - สังเกต - เก็บข้อมูล - การเปลี่ยงแปลง - ครูหาสื่อเนื้อหาความรู้มาให้เด็กทดลอง  
3. ค่ายวิทยาศาสตร์  ช่วงวัยเเห่งการเรียนรู้  กระตุ้นให้ความสนใจ  การใช้คำถาม  


กิจกรรมสื่อวิทยาศาสตร์
อุปกรณ์
1.  paper
2.  กรรไกร
3.ไม้แหลม
4. เทปกาว

        Procedures
1. ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2. พับครึ่งวาดรูปอะไรก็ได้ที่มีความสัมพันธ์กันทั้ง2ด้าน
3. เอาไม้เสียบมาวางตรงกลางกระดาษด้านในเเล้วติดเทปกาวให้เเน่น
4. ทดลองหมุนกับมือให้เร็วๆเเล้วสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้น

  กิจกรรมนี้สามารถนำไปสอนในหน่วย ศิลปะ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่ซับซ้อน เด็กเรียนรู้เเละเข้าใจได้ง่าย  เมื่อเราหมุนไปหมุนมาเเล้วจ้องภาพนานๆเเล้วเพิ่มความเร็วๆขึ้นเรื่อยๆเราก็จะเห็นภาพนี้เป็นภาพเดียวกันเเละมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากเลนส์สายตาปรับความเร็วจากการหมุนไปหมุนมาเร็วๆ  จึงทำให้เกิดภาพซ้อน

คำศัพท์น่ารู้

Collection = สะสมเกิดสิ่งใหม่ๆ
Prediee = คาดการพยากรณ์
Infer = ลงความเห็น
Measure = การวัด
Obserrve = สังเกต
Use = ใช้
Science process skills =  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
Tools = เครื่องมือ
Facts = ความจริง
Science  = วิทยาศาสตร
Math = คณิตศาสตร์
Technology = วิศวะกรรม
Engenia = เทคโนโลยี
เทคนิคการสอน 

1. การใช้คำถามปลายเปิดว่าสื่อที่เราทำนั้นได้อะไรบ้าง
2.  รู้จักการคาดคะเนหรือกะระยะภาพที่จะวาดให้สองด้านมีความสัมพันธ์กัน

การนำไปประยุกต์ใช้
1. ครูสามารถใช้คำถามปลายเปิดให้เด็กได้ช่วยกันตอบหรือเเสดงความคิดเห็นในชิ้นผลงานที่เด็กได้ทำในกิจกรรม
2.ฝึกให้เด็กลงมือทำงานร่วมกันในห้องเรียนกับเพื่อนๆ 

การประเมิน

  ประเมินตนเอง: เเสดงความคิดเห็นเเละให้ความร่วมมือในการตอบคำถามและ มีความตั้งใจในการทำกิจกรรมภาพสื่อประเมินเพื่อน : เให้ความสนใจในการทำกิจกรรมสื่อ เเละช่วยกันเเสดงความคิดเห็นในการหาคำตอบเเละวิเคราะห์คำถามของอาจารย์
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคในการสอนโดยมาทำกิจกรรมประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์  แล้วใช้คำถามปลายเปิดให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์และช่วยกันคิดหาคำตอบร่วมกัน

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 4


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดี ที่ 11 กันยายน 2557


ทักษะScienceพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
           วิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการ แสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อย่างมีระบบแบบแผน มีScope(ขอบเขต)โดยอาศัยการสังเกต การทดลอง เพื่อค้นคว้าหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

    Science
- ขั้นกำหนดมาตรฐาน
- ขั้นตั้งสมมติฐาน
- ขั้นรวบรวมข้อมูล
- ขั้นลงข้อสรุป   
 แนวคิดพื้นฐานทางScience
- Changes ( การเปลี่ยนแปลง )
- ความแตกต่าง
- การปรับตัว 
- การพึ่งพาอาศัยกัน
- ความสมดุล
     เจตคติทางScience
- ความอยากรู้อยากเห็น
- ความเพียรพยายาม
- ความมีเหตุผล
- ความซื่อสัตย์
- ความมีระเบียบ
- ความใจกว้าง
    Benefits (ปรโยชน์)
-  Developmentความคิดรวบยอดพื้นฐาน
-  Developmentทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
-   สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
      การนำไปประยุกต์ใช้
          เนื้อหาที่ได้เรียนวันนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัยและตามขั้นพัฒนาการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีประโยชน์มากที่สุด เพื่อเด็กจะได้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
       เทคนิคที่ได้รับ
การเรียนแบบ ถาม ตอบ ซึ่งสามารถทำให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหาและมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น





บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 3


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดี ที่ 4 กันยายน 2557



   พัฒนาการ คือ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
            การเรียนรู้ เกิดจากการเล่น
    ลำดับขั้นพื้นฐาน ....วิธีการเรียนรู้ และพัฒนาการ http://taamkru.com/th/    เครื่องมือ คือ การใช้ประสาทสัมผัส     ทั้ง 5
        อารมณ์ .. การแสดงออกทางความรู้สึก                 
        จิตใจ .. การรับรู้ทางรู้สึก
        สังคม .. การช่วนเหลือตนเอง,การอยู่ร่วมกับผู้อืน
        สติปัญญา .. การคิด - การคิดเชิงเหตุผล,คณิตศาสตร์,วิทยาศาสตร์
                                         - การคิดเชิงสร้างสรรค์
ทฤษฏีการเรียนรู้
         1.การทดลองของพาพลอฟ ทฤษฎีของพาพลอฟ - การวางเงื่อนไข
         2. ดิวอี้ ( Dewey ) เชื่อว่า เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
         3. สกินเนอร์  ทฤษฎีสกินเนอร์   ( Skinner ) เชื่อว่า การเสริมแรง
         4. เฟสตเลอสซี่ ( Pestalozzi ) เชื่อว่า ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญ
         5.เฟรอเบล   ทฤษฎีเฟรอเบลFroble ) เชื่อว่า การส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติ    การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก
          การนำไปประยุกต์ใช้
          เนื้อหาที่ได้เรียนวันนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัยและตามขั้นพัฒนาการของเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เพื่อเด็กจะได้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

         เทคนิคที่ได้รับ
การเรียนแบบ ถาม ตอบ ซึ่งสามารถทำให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหาและมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่2


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดี ที่ 28 สิงหาคม 2557

               ด็กปฐมวัย 
      โครงสร้างของเด็กปฐมวัย
1. ด้านสติปัญญา  เป็นการคิดเชิงเหตุผล และการคิดเชิงสร้างสรรค์
2. ร่างกาย
3. อารมณ์
4. สังคม
       Development ของเด็กปฐมวัย คือ โครงสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 ด้านตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
Development ของเด็ก  พัฒนาการของเด็ก 
การเล่นของเด็กปฐมวัย คือการลงมือกระทำกับวัตถุ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5 อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยให้เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
               วิทยาศาสตร์ 
       วิทยาศาสตร์ คือ
1.สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา
2.เป็นความพยายามของมนุษย์ท่จะเรียนรู้และเข้าใจสิ่งรอบตัว
3.ความพยายามที่ติดตัวมนุษย์ ตั้งแต่แรกเกิดในเรื่องของการอยากรู้อยากเห็น
4.การทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวโดยการสังเกต คอยซักถาม
                ธรรมชาติของเด็ก
     ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก
1.ปิดกั้นโอกาสการเรียนรู้ของเด็กโดยการไม่สนใจคำถาม
2.ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบของเด็ก
3.ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็ก
     บทบาทการเข้าใจธรรมชาติของเด็ก
1. ยอมรับในเรื่องของจินตนาการของเด็ก
2. ครูต้องมั่นใจในพัฒนาการของเด็ก
3. เปิดโอกาสการเรียนรู้
4. ให้ความสนใจกับเด็ก
การนำไปประยุกต์ใช้
1.จัดประสบการณืให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
2. ทำให้รู้ว่าจะนำเรื่องอะไรมาสอนเด็ก
เทคนิคที่ได้รับ
การเรียนแบบ ถาม ตอบ ซึ่งสามารถทำให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหาและมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น