วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9

วัน เสาร์ ที่ 18 ตุลาคม 2557
(ชดเชย วัน พฤหัสบดี ที่ 23 ตุลาคม 2557)


วันนี้เรียนการเขียนแผนการจัดการเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
หน่วยเรื่อง กล้วย ( banana )


ตัวอย่างการเขียนแผนวันที่ 4 วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ (benefit) และข้อพึงระวังของกล้วย

ขั้นนำ       ครูเล่านิทาน (tale) เรื่อง บ้านสวนกล้วย ให้เด็กๆฟัง
ขั้นสอน    ครูสอบถามประโยชน์และข้อพึงระวังของกล้วยที่ได้ฟังในนิทาน พร้อมถามคำถามปลายเปิด ให้เด็กต่อจิ้กซอร์ภาพ แล้วให้วาดรูป (draw)ตามจินตนาการ ในเรื่อง ประโยชน์และข้อพึงระวังของกล้วย
ขั้นสรุป     ครูและเด็กร่วมกันอภิปราย และสรุปเป็นแผนภาพอย่างง่าย

ความรู้ที่ได้รับ
  1. ทักษะการใช้สัญลักษณ์(emblem)เเทนจำนวนหรือตัวเลข (number)
  2. ทักษะการเรียนรู้การทำกราฟิก (graphics)อย่างง่าย เช่น การทำ Mind Map การทำตารางเปรียบเทียบ
  3. เทคนิควิธีการนำเด็กเข้าสู่บทเรียน
  4. การจัดระบบเนื้อหาการเรียนการสอนในเเต่ละวัน
  5. ทักษะการคิดบูรณาการกับวิชาอื่นๆ
  6. ทักษะการเขียนแผนการสอนที่ถูกต้อง
  7. การใช้คำถาม เพื่อทบทวนความจำของเด็ก
  8. ทักษะการเชื่อมโยงความคิด
  9. นำไปปรับในการเรียนวิขาอื่นๆ
 Evaluation 
ประเมินตนเอง :  ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายการเขียนเเแผนการสอนและให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม การคิดวิเคราะห์ จดบันทึกเนื้อหาและเทคนิควิธีการสอนการเขียนแผนที่ถูกต้อง
ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ  เเละช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์
ประเมินอาจารย์ :  เข้าสอนตรงเวลา  มีเทคนิควิธีการสอนการเขียนเเผนการสอน โดยการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ ได้เเสดงความคิดเห็น และยกตัวอย่างอธิบายเนื้อหารายละเอียดที่ชัดเจน เข้าใจมากขึ้น 





บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8

วันพฤหัสบดี ที่ 16 ตุลาคม 2557


กิจกรรมในวันนี้คือ  นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้
ของเล่นวิทยาศาสตร์ของฉันคือ รถแข่ง( racing car )
   

  รถแข่งจะเคลื่อนที่ได้จากแรงส่งจากด้านหลัง ทำให้เคลื่อนที่ไปทางด้านหน้า จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับแรงส่ง และแรงส่งนั้นคือ แรงลมจากพลังงานในตัวของผู้เป่า

 สื่อที่เพื่อนนำมาเสนอ


 ความรู้ที่ได้รับ
  1. การสอนเด็กให้เรียนรู้และศึกษาค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองจากการเล่นของเล่นที่เป็นสื่อทางวิทยาศาสตร์
  2. การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
  3. การสอนเด็กให้เรียนรู้และศึกษาค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองจากการเล่นของเล่นที่เป็นสื่อทางวิทยาศาสตร์
  4. การประดิษฐ์ (artificial) สื่อต่างๆ เด็กจะได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ การสังเกต  การเปรียบเทียบ การทดลองเเละความคิดสร้างสรรค์
  5. การสอนเด็ก ครูต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมมาสนับสนุนเนื้อหาที่สอน
  6. ของเล่นทางวิทยาศาสตร์เเต่ละชิ้นจะเกิดการเปลี่ยนเเปลงเกิดสิ่งที่เเปลกใหม่ขึ้นมา เรียกว่า หลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้คำถามชวนคิดว่า "ทำไม" เช่น  ทำไมกังหันลม จึงหมุนได้
  7. การพูดนำเสนอสื่อหน้าชั้นเรียน ควรพูดออกเสียงให้ชัดถ้อยชัดคำ การออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล บุคลิกภาพ และมารยามที่ดี 
  8. การนำวัสดุ(material)ที่เหลือใช้มาคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ผลงานทางวิทยาศาสตร์
  9. การให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 และการลงมือกระทำด้วยตนเอง

ประเมินการเรียน (Evaluation of teaching)

      ตนเอง          ข้อมูลที่นำไปนำเสนอยังไม่ค่อยแม่นยำสักเท่าไหร่ และมีอาการตื่นเต้นเวลานำเสนองาน
      เพื่อน          เพื่อนเตรียมสื่อที่ตัวเองประดิษฐ์มานำเสนอทุกคนและมีความพร้อมในการนำเสนอ
      อาจารย์      อาจารย์ให้คำเเนะนำเกี่ยวกับสื่อแต่ละชิ้นทำให้ได้เรียนรู้มากขึ้น



วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กล้วย ( banana )


หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กล้วย ( banana ) 


แก้เป็นอันใหม่ที่สมบูรณ์ จากคำแนะนำจากอาจารย์






บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดี ที่ 2 สิงหาคม 2557


กิจกรรม (Activities) แกนทิชชูมหัศจรรย์
อุปกรณ์ ( Equipment ) 1.แกนกระดาษทิชชู
                                   2.ไหมพรม
                                   3.กระดาษตัดเป็นวงกลม
                                   4.ปากกา / สีตกแต่ง
                                   5.กาว (Glue)
                                   6.กรรไกร
วิธีการทำ 1. ตัดแกนกระดาษทิชชู ครึ่งแกน
               2. เจาะรูที่แกนกระดาษทิชชู
               3. วาดภาพที่ชอบลงไปในกระดาษวงกลม
               4. ติดกระดาษไว้บนแกนกระดาษทิชชู
               5. ร้อยไหมพรมเข้าในรู มัดปมตรงปลาย
วิธีการเล่น 1. เอาเชือกคล้องคอ
                2.กางออกแล้วขยับเรื่อยๆ แกนกระดาษทิชชูก็จะเลื่อนขึ้นจนสุด
ประโยชน์ที่เด็กจะได้จากกิจกรรมนี้
               1. เด็กได้รู้จักการสังเกต
               2.เด็กได้ทดลอง
               3.ได้ใช้จินตนาการของเด็กในการวาดรูปที่ตนชอบ  


                                   การนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บทความเรื่องที่ 1  
เรื่องสอนเด็กเรียนวิทยาศาสตร์จากเป็ดและไก่ จัดกิจกรรมชวนเด็กตั้งคำถามในการสืบค้นข้อมูล
-        ร้องเพลงและทำท่าทางตามจินตนาการและฟังนิทานเรื่อง หนูไก่คนเก่ง
-        ตั้งคำถาม
-        สำรวจและรวบรวมข้อมูล
-        นำเสนอรูปภาพและบันทึกข้อมูลผ่าน Picture

บทความเรื่องที่ 2  
จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบจากของเล่นวิทยาศาสตร์ นำวัสดุเหลือใช้มาทสิ่งประดิษฐ์ ของของใช้
การประดิษฐ์
-          
บทความเรื่องที่ 3  
เรื่องการส่งเสริมกระบวนการคิด   เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต และชอบการสำรวจใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5ในการเรียนรู้ โดยอาจจะเริ่มจากการวาดภาพ โยการฝึกให้เด็กสังเกต ตั้งคำถาม แล้วมาเล่าให้พ่อแม่ฟัง
การบูรณาการมี  2 ประเภท คือ รวมเป็นเนื้อเดียวกัน การแยกสาระ
-           
 บทความเรื่องที่   
สอนลูกเรื่องปรากฎการณ์ธรรมชาติ  สอนในเรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวของเด็กโดยตรง ในสาระธรรมชาติรอบตัว นำไปสู่การทดลอง และการปฏิบัติจริงจากสถานการณ์จริง และสถานการณ์จำลอง โดยการใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการคิดวิเคราะห

บทความเรื่องที่ 5  
การสอนลูกเรื่อง อากาศ การเรียนรู้ลักษณะ ความสำคัญ ความจำเป็น ต่อการดำรงชีวิตซึ่งการจัดกิจกรรมนี้ เด็กจะได้คิดและตั้งคำถามและเขาก็จะเป็นผู้หาคำตอบด้วยตัวของเขาเองโดยครูเป็นผู้จัดประสบการตรงให้แก่เด็กได้ทำกิจกรรม


การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน และการทำกิจกรรมดี
ประเมินเพื่อน :   แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาเข้าเรียนตรงเวลา สนใจในกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ : แนะนำเทคนิคการสอนที่เป็นการตั้งคำถาม ทำให้เด็กเข้าใจมากขึ้น




บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 6


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดี ที่ 25 กันยายน 2557



กิจกรรม (Activities) กระดาษหมุน
อุปกรณ์ ( Equipment ) 1.กระดาษตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
                                   2.คลิปหนีบกระดาษ
วิธีการทำ 1. กระดาษตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
               2. ตัดปลายกระดาษให้ลึก 
               3. พับปลายกระดาษอีกข้างแล้วใช้คลิปหนีบกระดาษติด
ประโยชน์ที่เด็กจะได้จากกิจกรมนี้
               1. เด็กได้รู้จักการสังเกต
               2.เด็กได้ทดลองและได้ใช้จินตนาการของเด็ก



                                      mind map หน่วยการเรียนรู้ต่างๆ
อาจารย์ให้นำไปแปะไว้ที่ผนังของห้อง และร่วมกันอธิบายโดยที่อาจารย์ จะบอกส่วนประกอบต่างๆที่ขาดหาย
                                         กลุ่มของดิฉันทำเรื่องกล้วย ( banana ) ค่ะ


mind map ของกลุ่มเพื่อน





บทความเรื่องที 1  
เรื่องแสงสีกับชีวิตประจำวัน
สีมีทั้งหมด 3สี เรียกว่าแม่สี คือ สี แดง น้ำเงิน เขียว ซึ่งมาจากดวงอาทิตย์ สีทุกสีบนโลกมาจากแม่สีนี้ในอัตราส่วนที่เท่ากันแล้วมาตกกระทบที่ตาของเราจึงเกิดสีต่างๆที่เรามองเห็น

บทความเรื่องที่ 
 เงามหัศจรรย์

บทความเรื่องที่ 
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คือการจัดสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในให้เด็กได้เห็นและจะเกิดการซึมซับโดยไม่รู้ตัว เช่น การคัดแยกขยะ การปลูกต้นไม้ การนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ใช้ใหม่

บทความเรื่องที่ 4 
 วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จะไม่มีการเรียนรู้ด้านเนื้อหา จะให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง
การสังเกต จำแนกประเภทมี ประเภท คือ
-           ฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์
-           หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

บทความเรื่องที่ 5  
การทดลองวิทยาศาสตร์
-           ทักษะการสังเกต
-           ทักษะการวัด
-           ทักษะการจำแนกประเภท
-           ทักษะการสื่อสาร การแสดงผล
-           ทักษะการลงความเห็น
-           ทักษะการพยากรณ์

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-           ครูควรมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมพร้อมๆกับเด็ก เพื่อเป็นการกระตุ้นอีกทางหนึ่ง
-           จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ


การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
ประเมินเพื่อน :   แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาเข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินอาจารย์ : แนะนำเทคนิคการสอนเกี่ยวกับการเรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอย่างตรงประเด็น