วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 15


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 15

วันพฤหัสบดี ที่ 4 ธันวาคม  2557


วันนี้ อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกัน เพื่อทำ แผ่นพับ ส่งถึงผู้ปกครอง

อุปกรณ์          >>      กระดาษ A4
วิธีการทำ       1. พับกระดาษให้ได้สามส่วน
                     2. ด้านนอกหน้าปก
                              - สัญลักษณ์โรงเรียน 
                              - ชื่อโรงเรียน
                              - ชื่อหน่วย
                              - วาดรูปหน่วยที่จะสอน เช่น หน่าวข้าว
                              - ชื่อนักเรียน
                              - ชื่อคุณครูประจำชั้น
                     3. ด้านใน
                              - ข่าวประชาสัมพันธ์
                              - วัตถุประสงค์
                              - สาระที่ควรเรียนรู้
                              - ขอความร่วมมือถึงผู้ปกครอง
                              - สื่อการใช้จัดกิจกรรม เช่น เพลง 
                    4. ด้านนอก
                              - เกมชวนคิด ในหน่วยกล้วย
ด้านนอก


ด้านใน


การนำความรู้ไปใช้  ( Application )
  • การนำสื่อวารสารมาเป็นเครื่องมือสื่อการสอนและจัดกิจกรรมโดยการขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง
  • สามารถถ่ายทอดความรู้โดยการทำแผ่นพับให้กับผู้ปกครองได้ทราบ
  • เป็นการสานสัมพันธ์กับผู้ปกครอง และโรงเรียน
Evaluation
  • M:  เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน และมีส่วนร่วมในการคิดเนื้อหาที่จะเขียนลงไปในแผ่นพับ และเป็นคนเขียนเนื้อหาทั้งหมด
  • My friend : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ เพื่อนตั้งใจเรียน ตั้งใจคิดเนื้อหา มีการแบ่งหน้าที่กันในการทำงาน 
  • Teacher : อาจารย์ให้คำเเนะนำในการทำแผ่นพับนี้ โดยละเอียดและเข้าใจง่าย พร้อมทั้งช่วยคิดกิจกรรมให้กับนักศึกษา

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดี ที่ 27 พฤศจิกายน 2557


นำเสนอ โทรทัศน์ครู


นำเสนอ วิจัย

1. วิจัยเรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีผลต่อทักษะทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสังเกต 
และการจำเเนกของเด็กปฐมวัย
ทักษะวิทยาสาสตร์ที่ได้รับ
  1.  การสังเกต
  2. การจำเเนก
  3.  การเเบ่งปริมาตร
  4.  การสื่อความหมาย
  5.  การหามิติสัมพันธ์
2. วิจัยเรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรทักษะพื้นฐานทางวิทยาศตร์
ทักษะวิทยาศสตร์
  1.  การจำเเนกประเภท
  2.  การจัดประเภท
  3.  อนุกรม 
ทักษะวิทยาศาสตร์
  1.  การสังเกต
  2.  การประมาณ
  3.  การเปลี่ยนเเปลง
การนำความรู้ไปใช้  ( Application )
  • การนำวิจัยมาเป็นเครื่องมือสื่อการสอนและจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก
  • สามารถนำความรู้ของกิจกรรมวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสม
  • ฝึกฝนตนเองให้มีบุคลิกภาพที่ดีในการพูด การใช้น้ำเสียงที่ถูกต้องเเละชัดเจน
Evaluation
  • M:  เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน และฟังเพื่อนนำเสนอวิจัยวิทยาศาสตร์ กับโทรทัศน์ครู  และกิจกรรมวิทยาศาสตร์ต่างๆและ มีการเตรียมพร้อมสำหรับการออกไปนำเสนอ โทรทัศน์ครู แต่การนำเสนอ อาจจะไม่คล่องเท่าไรค่ะ 
  • My friend : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ เพื่อนตั้งใจเรียน และฟังเพื่อนๆออกมานำเสนอวิจัยกับโทรทัศน์ครูที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด้กปฐมวัย มีการตอบคำถามที่ อาจารย์ถาม จจากในเรื่องของเพื่อนๆออกมานำเสนอ
  • Teacher : อาจารย์ให้คำเเนะนำพร้อมพูดสรุปความรู้ที่นักศึกษาได้ออกไปพูดหน้าชั้นเรียนในงานวิจัย และโทรทัศน์ครู เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาความรู้ง่ายขึ้น และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถาม ทำให้ทุกคนเกิดความเข้าใจเนื้อหาเรื่องต่างๆ

วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุป วีดีโอ เรื่อง ขวดปั๊มและลิฟท์เทียน


สรุป วีดีโอ เรื่อง ขวดปั๊มและลิฟท์เทียน
      กิจกรรมที่1 ขวดปั๊ม
อุปกรณ์ 1. ขวดเปล่า
              2. น้ำร้อน น้ำเย็น
              3. จาน
              4. หลอดหยด
              5. สี
การดำเนินกิจกรรม
              1. นำน้ำ เทใส่จาน
              2. หยดสีใส่ลงไปในน้ำ
              3. นำน้ำเย็นใส่ขวดและน้ำร้อนใส่ขวด แล้วเขย่าขวด
              4. เทน้ำทั้ง 2 ออกจากขวด
              5. คว่ำขวดลงใส่จาน ทีละขวด
ผลจากการทำกิจกรรม
 1. ขวดที่เขย่าด้วยน้ำเย็น - จะไม่มีอะไรปรากฏขึ้น
 2. ขวดที่เขย่าด้วยน้ำร้อน - น้ำจะถูกดูดเข้าไปในขวด เนื่องจาก การให้ความร้อนแก่ขวด ทำให้อนุภาคเคลื่อนที่เร็วขึ้น แต่เมื่ออากาศเย็นลง อนุภาคของอากาศก็จะเคลื่อนที่ช้าลง ความดันจะลดลง อากาศภายนอกที่มีความดันมากกว่า ก็จะเคลื่อนตัวเองเข้ามาในขวด



          กิจกรรมที่ 2 ลิฟท์เทียน
อุปกรณ์ 1. จาน
              2. เทียน
              3. แก้ว
              4. ไฟแช็ค
              5. น้ำ
การดำเนินกิจกรรม
              1. นำน้ำ เทใส่จาน
              2. หยดสีใส่ลงไปในน้ำ
              3. จุดเทียนวางลงบนจาน
              4. นำแก้วครอบใส่เทียน
ผลจากการทำกิจกรรม
        เมื่อครอบแก้วลงไป เทียนจะค่อยๆดับลง น้ำจะค่อยๆซึมเข้ามาในแก้ว เนื่องจากการให้ความร้อนภายในแก้ว ทำให้อนุภาคเคลื่อนที่เร็วขึ้น แต่เมื่ออากาศเย็นลง อนุภาคของอากาศก็จะเคลื่อนที่ช้าลง ความดันจะลดลง อากาศภายนอกที่มีความดันมากกว่า ก็จะเคลื่อนตัวเองเข้ามาในแก้ว







วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุป เรื่อง อากาศ


สรุป เรื่อง อากาศ
     อากาศ (atmosphere) คือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่
ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่
รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ใน
บ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น
อากาศที่ไม่มีไอน้ำเรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วย เรียกว่า อากาศชื้น
ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญ
ของอากาศ และไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบ
ฟ้าร้อง รุ้งกินน้ำ เป็นต้น
สมบัติของอากาศ (Properties)
1.อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
2.อากาศมีน้ำหนัก
3.อากาศต้องการที่อยู่
4.อากาศเคลื่อนที่ได้ และเมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ลอยตัวสูงขึ้น ทำให้ความหนา
แน่นของอากาศบริเวณนี้ลดลง อากาศบริเวณใกล้เคียงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าความหนาแน่น
มากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศหรือลม
อากาศ จะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อย แต่บางเวลาเคลื่อนที่มาก ทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก
เป็นต้น
ถ้าอุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกันมาก จะทำให้ความหนาแน่นของอากาศสอง
บริเวณนั้น ทำให้เกิดลมที่มีกระแสลมพัดมีความเร็วสูง เรียกว่า พายุ ชื่อภาพยุนั้นจะเรียกแตก
ต่างไปตามแหล่งทวีปโลก และตามความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เกิด
ความเสียหายมากขึ้น เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง บ้านเรือนพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเป็น
จำนวนมาก
อุณหภูมิ (temperature) คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศ ถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิจะลด
ต่ำลง ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิหรือระดับความร้อนหนาวของ
สิ่งต่างๆ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หน่วยของอุณหภูมิใช้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส และองศฟาเรนไฮต์
เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer) มีลักษณะคล้ายหลอดแก้ว หัวท้ายปิดมีกระเปาะเล็กๆ อยู่ปลาย
ด้านหนึ่งภายในกระเปาะบรรจุของเหลว เมื่ออากาศร้อนของเหลวจะขยายตัว ทำให้ระดับ
ของเหลวสูงขึ้น เราเรียกว่า อุณหภูมิสูง แต่ถ้าอากาศหนาวของเหลวจะหดตัว ระดับของเหลวจะ
ลดลง เรียกว่า อุณหภูมิต่ำ
อากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิต ถ้าขาดอากาศ สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถ
ดำรงชีวิตอยู่ได้
อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ โดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณหภูมิไม่ให้
ร้อนหรือเย็นเกินไป นอกจากนั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกยังทำหน้าที่กรองและดูดรังสีอุลตราไว
โอเลตหรือแสงเหนือม่วงไว้ ไม่ให้ผ่านเข้าสู่โลกชั้นในมากจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
ช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก เช่น อุกกาบาต ขยะอวกาศ





บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13

วันพฤหัสบดี ที่ 20 พฤศจิกายน 2557


      มีการจัดประเภทของเล่น ที่นักศึกษานำเสนอไป โดยจัดเป็น
1. การเกิดจุดศูนย์ถ่วง
2. การใช้เเรงดันลม
3. การเกิดเสียง
4. การใช้พลังงาน
5. จัดเล่นตามมุม


เสนอวิจัยทางวิทยาศาสตร์สำหรับด็กปฐมวัย 


ทำCooking เมนูการทำขนมวาฟเฟิล




การนำความรู้ไปใช้  ( Application )
1. สอนเด็กจำแนกเรื่องของเล่นต่างๆ
2. การนำวิจัยมาเป็นเครื่องมือสื่อการสอนและจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก
3. สอนเด็กทำขนม โดยมีเทคนิค การจัดการชั้นเรียนไม่ให้วุ่นวาย

Evaluation
    Me :    ตั้งใจสนใจในการทำขนม ให้ความร่วมมือในการทำ การเก็บอุปกรณ์ ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนดี มีการตอบคำถาม  ตั้งใจฟังที่เพื่อนๆนำเสนอ
    My friend : ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำขนม มีการเตรียมพร้อมที่จะออกไปนำเสนองานวิจัย 
    Teacher : อธิบาย เสริมความรู้ในแต่ละหัวข้อทำให้เข้าใจในงานวิจัยมากขึ้น และ วอนเทคนิคต่างๆที่จดจำได้ง่ายค่ะ





วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12

วันพฤหัสบดี ที่ 13 พฤศจิกายน 2557


วันนี้มีการสรุปงานวิจัยของแต่ละคน



 เรื่อง การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการสังเกตสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น
2. เพื่อให้นักเรียนนำทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เเบบประเมินทักษะการสังเกตการเล่นเกม5เกม
1. เกมจับคู่ภาพเหมือน
2. เกมจับคู่ภาพกับเงา
3. เกมภาพตัดต่อ

เรื่อง  ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. เเผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดลองทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

เรื่อง  การศึกษาผลของรูปเเบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด๋กปฐมวัย
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัย
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองเเละหลังทดลอง

เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ความมุ่งหมายของการวิจัย 
1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง
ครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
 1 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ 
 2 แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

เรื่อง  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ
เครื่องที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ 
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์ -   การจำเเนก   การวัดปริมาณ  การหามิติสัมพันธ์  การลงความเห็น

เรื่องการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร
     การวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยกึ่งทดลอง ซึ่งทําการศึกษากับกลุมตัวอยางที่เปนเด็กปฐมวัย โดยผูวิจัยสรางความคุนเคยกับกลุมตัวอยาง 1 สัปดาหกอนการทดลอง โดยใชแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ผูวิจัยสรางขึ้น กับกลุมตัวอยาง และดําเนินการทดลองดวยตนเอง จํานวน 8 สัปดาหเมื่อดําเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห นําแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้ง และนําขอมูลที่ไดจาก การทดสอบไปทําการวิเคราะหขอมูลดวยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

เรื่อง การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
     เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ  
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
2. แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล จำนวน 50 ข้อ 

การนำความรู้ไปใช้  ( Application )
1. การสอนเด็กในเรื่องธรรมชาติรอบๆตัวที่เราสามารถนำมาบูรณาการกับวิชาต่างๆได้
2. การนำวิจัยมาเป็นเครื่องมือสื่อการสอนและจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก
3. การนำงานวิจัยมาปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะพัฒนาการที่ดีให้กับเด็กปฐมวัยอย่างมีประสิทธิภาพ

Evaluation
    Me :   ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนดี มีการตอบคำถาม สม่ำเสมอ ตั้งใจฟังที่เพื่อนๆนำเสนอ
    My friend : ตั้งใจเรียนกันดี มีการเตรียมพร้อมที่จะออกไปนำเสนองานวิจัย 
    Teacher : อธิบาย เสริมความรู้ในแต่ละหัวข้อทำให้เข้าใจในงานวิจัยมากขึ้นค่ะ





วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11

วันพฤหัสบดี ที่ 6 พฤศจิกายน 2557



  วันนี้นำเสนอการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ มีจำนวน 10 กลุ่ม คือ





หน่วยกล้วย Banana (ชนิดของกล้วย)

ขั้นนำ   นำด้วยเพลง แล้วให้เด็กตอบเกี่ยวกับเนื้อเพลงของกล้วย  เป็นการเชื่อมโยงความรู้เดิมของเด็ก
ขั้นสอน  มีภาพกล้วยมาให้เด็กดู แล้วถามว่ากล้วยที่เห็น เป็นกล้วยชนิดไหน ให้เด็กยกมือตอบ

ขั้นสรุป ครูนำภาพมาอธิบายให้เด็กดูอีกรอบ


หน่วย ไก่ ( ลักษณะของไก่ )
ขั้นนำ  มีรูปไก่มาให้เด็กดู  มีลักษณะต่างๆให้เด็กดูด้วย มีสีอะไรบ้าง มีขนาดของไก่มาให้เด็กดูขั้นสอน  มีภาพไก่แจ้ กับไก่ต้อกมาให้เด็กดู แล้วถามเด็กว่า  ภาพสองภาพ เหมือนกันอย่างไร  และภาพสองภาพต่างกันอย่างไร  แล้วมีวงกลม แสดงความเหมือน ต่าง แล้วความสัมพันธ์ของไก่ทั้งสองชนิด หน่วย กบ (วัฏจักรของกบ)
ขั้นนำ ครูเปิดวิดีโอ วงจรชีวิตของกบ การดำรงชีวิตของกบ และกบจำศีลให้เด็กดู เมื่อดูวีดีโอจบ ครูถามเด็ก เพื่อทบทวนความรู้จากวีดีโอที่ได้ดูขั้นสอน  ครูถามเด็กว่า กบมีสีอะไรบ้าง  อาศัยอยู่ที่ไหน กบจำศีลเมื่อไหร่ 
 หน่วย ปลา ( ประโยชน์และข้อพึงระวังของปลา )

ขั้นนำ เป็นการเล่านิทานเกี่ยวกับประโยชน์และข้อพึงระวังของปลาให้เด็กฟัง แล้วถามเด็กขั้นสอน นำตารางมาเปรียบเทียบ ประโยชน์ และข้องพึงระวังของปลา แล้วถามเด็กว่า นอกเหนือจากประโยชน์และข้อจำกัดของปลาในนิทานแล้ว เด็กรู้จักอะไรอีกบ้าง แล้วเขียนใส่กระดาษ แล้วนำไปแปะไว้ที่ตารางเปรียบเทียบหน่วย ข้าว ( ทาโกยากิจากข้าว )

ขั้นนำ  ครูมีอุปกรณ์ต่างๆวางอยู่บนโต๊ะ แล้วถามเด็กว่านี่คืออะไร   แล้วนำเข้าสู่บทเรียนขั้นสอน ครูสาธิตการทำอาหารให้เด็กดูแล้วขอตัวแทนเด็กมาช่วยครูทำ ให้เด็กทำหรือช่วยเตรียมอุปกรณ์ง่ายๆ ให้เด็กสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงขั้นสรุป บอกประโยชน์ของข้าวว่านอกจากกินสุกแล้ว สามารถนำมาประกอบอาหารอย่างอื่นได้
หน่วย ต้นไม้ ( ชนิดของต้นไม้ )
ขั้นนำ  ครูท่องกลอน หรือคำคล้องจอง เกี่ยวกับชนิดของข้าว แล้วถามเด็กว่า จากคำคล้องจองมีต้นไม้อะไรบ้างขั้นสอน ครูถามเด็กว่า นอกจากต้นไม้ที่กล่าวมา เด็กรู้จักต้นไม้อะไรบ้าง  แล้วครูก็นำแผ่นภาพมาให้เด็กดูแล้วให้เด็กตอบหน่วย นม ( ลักษณะของนม)
ขั้นนำ ร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ และเป็นการเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำการทดลองให้เด็กดู แล้วถามเด็กว่ามีอะไรวางอยู่บนโต๊ะจากนั้นก็ทำการทดลองให้เด็กดู
ขั้นสอน  ทำการทดลอง  หยดน้ำยาล้างจานลงไปในนม  และสีผสมอาหาร 
 ผลการทดลอง น้ำยาล้างจานกับนม เกิดฟอง   นมเปลี่ยนสีตามสีผสมอาหาร
หน่วย น้ำ ( อนุรักษ์น้ำ )
ขั้นนำ ร้องเพลง อย่าทิ้ง ครั้งแรกครูร้องให้เด็กฟัง แล้วครั้งต่อ ให้เด็กร้องร่วมกันกับครู
ขั้นสอน เป็นการเล่านิทาน  ในนิทาน โดยในนิทาน กล่าวถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติ การอนุรักษ์น้ำ  เมื่อเล่าเสร็จ ครูจัดกิจกรรมศิลปะ ให้เด็กได้ทำกัน
ขั้นสรุป สรุปการดูแลอนุรักษ์แม่น้ำให้เด็กฟัง
มะพร้าว ( การปลูกมะพร้าว)
ขั้นนำ  ร้องเพลงเกี่ยวกับมะพร้าว แล้วเล่านิทานการปลูกมะพร้าวให้เด็กฟังแล้วถามเด็กว่า มะพร้าวในนิทาน ปลูกจากที่ไหน
ขั้นสอน ครูบอกถีงการปลูกต้มมะพร้าว และขั้นตอนสำหรับการปลูกมะพร้าวให้เด็กฟัง แล้วนำแผ่นภาพมาให้เด็กเรียงลำดับขั้นตอนของการปลูกมะพร้าว
ขั้นสรุป สรุปการปลูกต้นมะพร้าว และการดูแลรักษา
หน่วย ผลไม้ ( ผลไม้ผัดเนย )
ขั้นนำ พาเด็กด้วยการร้องเพลง ผลไม้ ถามเด็กว่า เด็กรู้จักผลไม้อะไรบ้าง 
ขั้นสอน  ครูเตรียมอุปกรณ์ทำอาหาร และส่วนผสมต่างๆมาแล้ว ครูของตัวแทนเด็กมาช่วยในการทำ แล้วบอกขั้นตอนการทำ  และให้เด็กสังเกตการณ์เปลียนแปลงของผลไม้เมื่อผสมกับเนยที่อยู่ในกระทะร้อน
ขั้นสรุป ครูถามเด็กว่าผลไม้ นอกจากจะทานผลดิบ หรือผลสุกแล้ว สามารถนำมาทำอะไรได้อีกบ้าง

การนำไปประยุกต์ใช้

  1. ใช้ในการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
  2. นำเทคนิคที่ได้ไปจัดกิจกรรมและนำไปถ่ายทอดต่อ
  3. การทำสื่อการสอนควรเป็นของจริง
Evaluation

      Me  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา  และให้ความร่วมมือขณะที่เพื่อนสอน      
      Friends  วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา และมีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี อาจจะมีบางกลุ่มที่ไม่เข้าใจจึงทำให้เตรียมการสอนมาผิดแต่ก็รับฟังคำแก้ไขจากอาจารย์      
      Teacher  วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และอาจารย์ก้ให้คำแแนะนำหลังจากการนำเสนอการสอนเป็นอย่างดี พร้อมทั้งยกตัวอย่างการสอนในหลายหลายเทคนิค



       




วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดี ที่ 30 ตุลาคม 2557



 การทดลอง
วิทยาศาสตร์ 


การทดลองที่ 1  " ปั้นๆกลมๆ "


          ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปกลมๆ เเล้วนำดินน้ำมันลงไปใส่ในโหลน้ำที่เตรียมไว้ซึ่งในขวดโหลก็มีน้ำอยู่เกือบเต็มโหล เมื่อหย่อนดินน้ำมันลงไป ดินน้ำมันจะจมลงไปในน้ำ เพราะรูปทรงกลมมีน้ำหนักมากจึงจมลงไปในน้ำอย่างรวดเร็ว 

 การทดลองที่ 2   "เรือจม เรือลอย" 



ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปทรงต่างๆตามจินตนาการ เช่น รูปเรือ  แล้วนำลงไปใส่ในโหลน้ำ จะสามารถลอยน้ำได้ เนื่องจากมีลักษณะแบนและบาง"

                                                       การทดลองที่ 3  " ดอกไม้"



เกิดจากการดูดซึมของน้ำ โดยที่เมื่อวางกระดาษลงไปน้ำจะดูดซึมไปในกระดาษ กระดาษจะทำการคลายตัวออก

                                      การทดลองที่ 4  "น้ำไหล"

เปิดเทปรูที่1 (รูด้านบน) สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น คือ น้ำจะไม่ไหลออกมา เเต่ลองเปิดฝาขวดน้ำออก น้ำก็จะไหลออกมาค่อยๆเเต่ไม่เเรง เพราะมีเเรงดันอากาศเปิดเทปออกเเล้วน้ำจะไม่ไหลออกมา


เปิดเทปรูที่ 2  (รูตรงกลาง) สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น คือ น้ำจะไหลออกมาเเรงกว่ารูที่ 1 ถึงจะปิดฝาขวดเเล้วก็ตาม ( เเต่ถ้าไม่อยากให้น้ำรูที่2ไหลให้เอามือไปปิดที่ 1ไว้น้ำก็จะไม่ไหล) ซึ่งเกิดจากเเรงดันอากาศนั้นเอง


                                      เปิดเทปรูที่ 3  น้ำจะไหลออกมาเเรงกว่ารูที่1และรูที่ 2
การนำไปประยุกต์ใช้
  1. การเรียนรู้ของการหักเเหที่เเสงกระทบกับวัตถุ
  2. การลอยน้ำของมวลของวัถตุที่มีหนักเเละเบา
  3. การเรียนรู้เรื่องเเรงดันอากาศ และมวลของน้ำ
Evaluation

     Me :   ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนดี มีการตอบคำถาม สม่ำเสมอ ช่วยอาจารย์จัดเตรียมอุปกรณ์ และเก็บอุปกรณ์แต่งกายเรียบร้อย
       My friend : ตั้งใจเรียนกันดี มีความสนใจในการทำกิจกรรมเป็นอย่างมาก เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการแบ่งหน้าที่กันเป็นอย่างดี
       Teacher : สอนทำกิจกรรมสนุกและประทับใจมากๆ และเป็นกิจกรรมที่ง่ายๆ สอนเข้าใจค่ะ